วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559

โรคภูมิแพ้ (Allergy)




1. โรคภูมิแพ้คืออะไร?


            ภูมิแพ้เป็นปฏิกิริยาของภูมิคุ้มกันในร่างกายคนเราที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแปลกปลอมภายนอก เราเรียกสิ่งแปลกปลอมนี้ว่า สารก่อภูมิแพ้ (allergen) ส่วนใหญ่แล้วสิ่งเหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดผลร้ายต่อร่างกายของคนทั่วไป แต่สำหรับผู้ที่ไวต่อสารก่อภูมิแพ้แล้ว ถ้าสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้เหล่านี้ก็จะทำให้เกิดเป็นโรคภูมิแพ้ขึ้นได้ ซึ่งอาจมีอาการหอบ จมูกอักเสบ ผิวหนัง อักเสบ มีผื่นคัน กระเพาะอาการและลำไส้อักเสบ เป็นต้น





2. ระยะของโรคภูมิแพ้



            โดยปกติเราแบ่งภูมิแพ้ออกเป็นสองระยะ ระยะแรก คือ เมื่อผู้ป่วยภูมิแพ้สูดดมหรือกินสารก่อภูมิแพ้เข้าไปใร่างกาย ระบบภูมิมิคุ้มกันในร่างกาย เริ่มทำงานสารก่อภูมิแพ้กลายเป็นวัตถุอันตราย  ทำให้ร่างกายผลิตสาร lgE (immunoglobulin-E ภูมิคุ้มกันชนิดอินมูโนโกลบุลิน-อี) ระยะนี้ร่างกายจะยังไม่แสดงอาการออกมาอย่างชัดเจน ระยะที่สอง คือ เมื่อผู้ป่วยสัมผัสกับสารก่อให้ภูมิแพ้เป็นครั้งที่สอง ร่างกายจะผลิตสาร lgE จำนวนมากเพื่อกำจัดสารก่อภูมิแพ้ที่รุกล้ำเข้าสู่ร่างกายออกให้หมด ซึ่งระหว่างกระบวนการเหล่านี้สารแอนติบอดี (antibody) จะกระตุ้นเม็ดเลือดขาวชนิดมาสต์เซลล์ (mastcell) ตามอวัยวะต่างๆ ให้ปล่อยสารเคมีหลากหลายชนิดรวมทั้ง ฮิตตามีน (histamine) เป็นเหตุให้เกิดอาการคัน บวม แดง จนถึงอาการอักเสบ เป็นต้นช่วงเวลาจากระยะที่หนึ่งสู้ระยะที่สองกินเวลาสั้นยาวไม่แน่นอน แต่หากเข้าสู่ระยะที่สองแล้ว เมื่อผู้ป่วยสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้อีก ร่างกายก็จะเกิดปฏิกิริยาทันที










3. สาเหตุของภูมิแพ้


กรรมพันธุ์  ภูมิแพ้มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับกรรมพันธุ์ ถ้าทั้งพ่อและแม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกก็มีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ร้อยละ50 ถ้าพ่อหรือแม่เป็นภูมิแพ้คนเคียว ลูกก็มีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ร้อยละ 30 แต่อย่างไรก็ตามถ้าพ่อแม่ไม่เป็นโรคภูมิแพ้เลย ลูกก็มีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ได้ร้อยละ  15

การสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้เป็นเวลานานๆ  กรรมพันธุ์และสภาพแวดล้อมสามารถก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้หากอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเกสรดอกไม้ แมลงสาบ ขนสัตว์ ไรฝุ่น หรือ สารเคมีเป็นเวลานานๆ จะทำให้เป็นโรคภูมิแพ้ได้ง่าย

อยู่ในที่ที่มีความชื้นสูง สภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิและความชื้นของร่างกาย การเผชิญกับความเครียดสามารถเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานของร่างกายในช่วงนั้นๆ ได้อาจทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ไม่อยากกินอาหาร กล้ามเนื้อหดตัว เป็นต้น ผลจากการค้นคว้าพบว่า  ความเครียดจะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลินออกมา ซึ่งส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันทำให้อาการภูมิแพ้รุนแรงขึ้นได้

4. ประเภทของสารก่อภูมิแพ้


สิ่งที่ทำให้ร่างกายเกิดอาการแพ้ เรียกว่า  สารก่อภูมิแพ้ ซึ่งมีมากมายหลายชนิด สารแต่ละชนิดอาจถูกจัดเป็นต้นเหตุของภูมิแพ้ในแต่ละคนได้ทั้งสิ้น สารก่อภูมิแพ้แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ตามวิธีที่เข้าสู้ร่างกายคนเราได้ดังต่อไปนี้

 ทางระบบหายใจ มักจะแพร่กระจายอยู่ในอากาศ  เข้าสู่ร่างกายคนเราโดยการหายใจและทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ต่างๆ กัน ได้แก่ ไรฝุ่น แมลงสาบ แบคทีเรีย ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ ไอ ควัน หมอก น้ำมัน น้ำหอม เป็นต้น

        โดยการสัมผัส มักอยู่ในพืชที่มีพิษ โลหะ สีย้อม เมื่อสัมผัสกับผิวหนังจะทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นบวมแดงหรือคัน เป็นต้น

ทางการดูดซึมเข้ากระแสเลือด เช่น ยาฉีดแมลงสัตว์กัดต่อย

        โดยการกิน ได้แก่ นมสด โปรตีน อาการทะเล ถั่วลิสง เบียร์ เครื่องเทศ เครื่องปรุง ไข่ เป็นต้น 




5. โรคภูมิแพ้ที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง


- โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ จะมีอาการ จาม น้ำมูกไหล คัดจมูก คันจมูก

- หอบ จะมีอาการ ไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงดัง

- ผิวหนังอักเสบ จะมีอาการ มีตุ้มแดงและคันตามใบหน้าและลำตัว

- โรคลมพิษ จะมีอาการ มีตุ่มสีชมพูรูปทรงต่างๆขึ้นตามผิวหนังเป็นประจำและมีอาการคัน ตาแดงคันตามใบหน้า

- เยื่อบุตาอักเสบ จะมีอาการ เคืองตา กระสับกระส่าย





6. โรคภูมิแพ้เป็นอันตรายถึงชีวิตหรือไม่?


หากผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ขั้นรุนแรงอาจมีอันตรายถึงชีวิตเรียกว่าอาการแพ้แบบเฉียบพลัน (Anaphylaxis) เป็นถาวะที่เกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้อย่างเฉียบพลันและรุนแรง ซึ่งมีผลต่อการล้มเหลวของระบบอวัยวะที่สำคัญ อาการของโรคจะเกิดขึ้นทั่วร่างกาย ตังแต่ทางผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิตและระบบทางเดินอาหาร หากรุนแรงอาจจะถึงขั้นช็อกหมดสติและเสียชีวิตฉะนั้นเมื่ออาการกำเริบควรรีบรักษาทันที
           อาการแพ้แบบเฉียบพลันนี้ โดยทั่วไปจะไม่แสดงอาการเมื่อสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ในครั้งแรก แต่ปัจจุบันก็ยังไม่ทราบสาเหตุว่าเพราะเหตุใดสารก่อภูมิแพ้ที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาใดๆกลับทำให้เกิดอาการแพ้ขั้นรุนแรงแบบเฉียบพลันได้
           แพทย์แนะนำว่าเมื่อเกิดอาการแพ้ทั่วร่างกาย ควรตั้งข้อสังเกตว่าสารก่อภูมิแพ้อาจทำให้เกิดผลรุนแรงในครั้งต่อไปได้ ดังนั้นจึงควรหาสาเหตุให้พบและหลักเลี่ยง

7. อาหารประเภทใดบ้างที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้


ผู้ที่มีอาการแพ้อาหารจะไม่มีวิธีรักษา มีเพียงหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นต้นเหตุของภูมิแพ้เท่านั้น จึงจะสามารถลดอาการแพ้ได้ ฉะนั้นผู้ป่วยควรระมัดระวังเรื่องอาหารไว้ให้มาก

อาหารที่มักเป็นต้นเหตุของโรคภูมิแพ้

1. อาหารทะเล อาหารทะเลที่มีเปลือก เช่น กุ้ง ปู เป็นอาหารที่เป็นต้นเหตุของโรคภูมิแพ้ในผู้ใหญ่ที่พบเห็นบ่อย รองลงมาคือปลาที่ไม่สด ส่วนปลาทะเลน้ำลึกมักเป็นต้นเหตุของโรคหอบหืดในเด็ก

2. อาหารจำพวกนมและไข่ เช่น นมวัว นมแพะ ไข่มักเป็นอาหารที่เป็นต้นเหตุของโรคภูมิแพ้ในมารก เมื่อโตขึ้นบางคนอาจยังคงแพ้อาหารจำพวกไข่ในขณะที่บางไม่แพ้

3. อาหารจำพวกผลไม้ มะเขือเทศ มันฝรั่ง มะม่วงและส้ม มักกระตุ้นให้ร่างกายผลิตสารฮิสตามีน ซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้ ผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของกรดซิตริก(ผลไม้รสเปรี้ยว)

4. อาหารจำพวกถั่ว ผู้ที่แพ้ถั่วลิสงมักจะแพ้อาหารประเภทที่มีเปลือกแข็งเสมอ แพทย์จึงมักแนะนำให้งดผลไม้ประเภทที่มีเปลือกแข็งด้วย

5. ผลไม้ประเภทที่มีเมล็ดแข็ง อัลมอนด์จะมีโปรตีนจากพืช จักอยู่ในประเภทที่มีไขมันสูง และมักกระคุ้นการทำงานของต่อมไร้ท่อเป็นเหตุให้ผู้ป่วยโรคหอบหืดมีอาการกำเริบหลังรับประทาน

6. อาหารที่ผ่านกรรมวิธีปรุงแต่ง เช่น ใส่สีผสมอาหาร ใส่สารกันบูด เติมกลิ่น เป็นต้น อาจเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้รับประทานเกิดอาการแพ้

7. อาหารที่มีความเย็น เช่น เครื่องดื่มเย็น ไอศกรีม เป็นต้น อาหารเหล่านี้จะไปกระตุ้นระบบประสาทพาราซิมพาเทติกในร่างกายทำให้ผู้ป่วยโรคหอบหืดและโรคแพ้อากาศหนักกว่าเดิม





8. เมื่อเป็นภูมิแพ้ควรไปพบแพทย์เฉพาะทางด้านใดบ้าง


          ผู้เป็นโรคภูมิแพ้ควรไปหาแพทย์เฉพาะทางด้านโรคภูมิแพ้ หากอาการแพ้เกิดขึ้นเฉพาะที่ เช่น ตา ผิวหนัง ก็สามารถจักษุแพทย์หรือแพทย์ด้านผิวหนังได้
           ในปัจจุบันโรคภูมิแพ้เป็นปัญหาสุขภาพที่พบมาให้หมู่ประชาชนตามเมืองใหญ่ แต่ก็มีคนอีกจำนวนมากที่ต้องทนทุกข์กับอาการแพ้โดยไม่รู้ตัว ทำให้อาการของโรคไม่ได้รับการรักษาให้ดีขึ้น นานเข้าโอกาสในการรักษาให้หายก็จะลดน้อยลงและอาจเกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้
หาหมอให้ถูกโรค รักษาได้หายขาด

        แผนกที่เกี่ยวข้องกับโรคภูมิแพ้  ได้แก่

1.แผนกโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา (แผนกอิมมูโนวิทยา) ให้บริการตรวจรักษา วินิจโรคเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ทุกชนิด
2.แผนกหู คอ จมูก ตรวจรักษาโรคจมูก จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ไซนัสอักเสบ ริดสีดวง โรคหอบหืด หวัด ไอ หายใจลำบาก โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจหรือหลอดลม
3.แผนกกุมารเวชกรรม ให้คำปรึกษาและตรวจรักษาโรคติดเชื้อในระบบต่างๆในเด็ก ตรวจรักษาโรคภูมิแพ้และโรคหอบหิดในเด็ก
4.แผนกโรคผิวหนัง ตรวจและรักษาโรคผิวหนังอักเสบอาการแพ้ที่ผิวหนัง ลมพิษ
5.แผนกตา ให้บริการตรวจรักษา วินิจฉัยโรคเกี่ยวกับภูมิแพ้ที่ตา อาการคันตา


9. วิธีป้องกันโรคภูมิแพ้


1. หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ ควรปิดหน้าต่างให้อากาศในห้องถ่ายเททำความสะอาดพื้นห้องเป็นประจำ กำจัดสิ่งของที่ขึ้นรา หลีกเลี่ยงการกองทับของนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ ใช้เครื่องกำจัดไรฝุ่น ฝุ่นละอองภายในบ้าน ควันบุหรี่ ขนสัตว์ เกรสดอกไม้ เป็นต้น

2. ดื่มน้ำให้มาก น้ำสามารถละลายเสหะได้มีส่วนช่วยในการขับของเหลวออกจากร่างกาย ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ควรดื่มน้ำไม่ต่ำกว่าแปดแกล้วต่อวัน

3. นอนหลับให้เพียงพอและใช้ชีวิตอย่างมีระเบียบ ไม่ทำงานหักโหมจนเกิดไป สภาพร่างกายที่สมบูรณ์และการพักผ่อนที่เพียงพอมีส่วนช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานได้ดี ป้องกันโรคภูมิแพ้ได้

4. ระวังอาหารที่เป็นสาเหตุของโรคภูมิแพ้ ผู้ป่วยภูมิแพ้ที่ได้รับคำยืนยันจากแพทย์ว่ามีสาเหตุจากอาหารควรหยุดกินอาหารนั้นๆ

5. การนอนในห้องปรับอากาศ ส่วนมากผู้ป่วยโรคภูมิแพ้มักจะมีความรู้สึกไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิจึงไม่ควรปรับอุณหภูมิต่ำจนเกินไปอาจใช้พัดลมช่วยให้อากาศในห้องถ่ายเทและรักษาอุณหภูมิให้คงที่

6. ปกป้องดวงตา ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคเยื่อบุนัยน์ตาอักเสบจากภูมิแพ้ควรสวมแว่นตาเมื่ออกนอกบ้าน เพื่อป้องกันเกสรดอกไม้หรือฝุ่นละอองไม่ให้เข้าตาจะทำให้อาการกำเริบ

7. รักษาสภาพจิตใจให้ปกติ ลดความเครียด ลดความเครียดทำให้จิตใจให้สบายเพราะความเครียดและสภาพจิตใจที่ไม่ปกติจะส่งผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเป็นสาเหตุให้เกิดอาการแพ้ได้


10. อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคภูมิแพ้


อัลมอนด์ช่วยให้โรคภูมิแพ้ที่ระบบทางเดินหายใจดีขึ้นหรือไม่?
อัลมอนด์มีสารอาหารและวิตามินมาก ช่วยให้ปอดชุ่มชื้นและแก้ไอ แต่ถูกจัดให้เป็นอาหารที่อาจเป็นต้นเหตุของโรคภูมิแพ้ชนิด ฉะนั้นผู้ป่วยโรคภูมิแพ้จึงควรรับประทานด้วยความระมัดระวัง

ประโยชน์ของอัลมอนด์

1. มีแร่ธาตุมาก กรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย โปรตีน วิตามิน บี1 บี2 วิตามินอี แคลเซียมเหล็ก และมีใยอาหารสูง มีประโยชน์ช่วยให้ปอดชุ่มชื้น แก้ไอ ละลายเสมหะ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการไอไม่หยุดและมีอาการหอบหืด

2. มีประโยชน์ต่อระบบทางเดินหายใจ อัลมอนด์แบ่งออกเป็น 2 ชนิดชมและหวาน อัลมอนด์แบบขมมักใช้ทำยาจีนหรือเครื่องดื่ม ส่วนอัลมอนด์แบบหวานมักใช้เป็นอาหารบำรุง ซึ่งทั้งสองชนิดมีประโยชน์ต่อปอดแลระบบทางเดินหายใจ เด็กที่เป็นหวัดไอไม่หยุดอาจดื่มชาที่ทำจากอัลมอนด์จะช่วยลดเสมหะได้ สำหรับผู้ป่วยแพ้อากาศ การดื่มชาอัลมอนด์จะช่วยบำรุงปอดป้องกันอาการหอบหืดกำเริบเนื่องจากระบบทางเดินหายใจชุ่มชื้น

3. มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย



ขิงช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้ได้หรือไม่?


ขิงมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ไม่เพียงแต่ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ ยังช่วยบรรเทาอาการคักจมูกอีกด้วย

ประโยชน์ของขิง

1.มีคุณค่าทางสารอาหาร ขิงมีแร่ธาตุหลายชนิด เช่นแคลเซียม เหล็ก โปรตีน เป็นต้น ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถป้องกันการอักเสบการดื่มน้ำขิงร้อนๆ  ทุกครั้งที่อากาศเริ่มเย็นลงหรือเริ่มเป็นหวัด จะทำให้ร่างกายอบอุ่นขับไล่ความหนาวได้

2.มีประโยชน์ต่อผู้เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกเดือยมีสรรพคุณบำรุงกำลัง ขับพิษ แก้ร้อนใน แก้อักเสบ บำรุงปอดขับปัสสาวะ ลดอาการปอดบวม เป็นต้น เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคแพ้อากาศโรคหอบหืด ผิวหนังอักเสบ โรคลมพิษ

3.มีสารต้านอนุมูลอิสระและต้านฮิสตามีน รากของลูกเดือยมีสารประกอบฟีโนลลิก
(
phenollic compounds) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระป้องกันโรคภูมิแพ้



11. สถานพยาบาลที่รักษาโรคภูมิแพ้มีที่ใดบ้าง


โดยส่วนใหญ่ โรงพยาบาลทุกแห่งจะมีแผนรักษาโรคภูมิแพ้อยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมีคลินิกเฉพาะทางเปิดให้บริการตามที่ต่างๆรายชื่อด้านล่างนี้เป็นสถานพยาบาลเพียงบางส่วนโปรดสอบถามรายละเอียดต่างๆก่อนจะไปพบแพทย์